Saturday, January 19, 2013

เกร็ดความรู้เรื่องวอลเลย์บอล



สำหรับวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ มีการแข่งขันกันระหว่าง 2 ทีม ทีมละ 6 คน โดยแบ่งเขตจากกั้นด้วยเน็สที่สูง เพื่อการทำคะแนนจากลูกบอลที่ตกในเขตแดนของฝ่ายตรงกันข้าม โดยกีฬาวอลเลย์บอลได้เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1895 โดยนายวิลเลียม จี. มอร์แกน ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. ในเมืองฮอลโยค รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศอเมริกา  คือเป็นผู้คิดเกมการเล่นขึ้น เพื่อตอบสนองในการประยุกต์กีฬาให้สามารถเล่นในฤดูหนาวได้
จากนั้นได้เกิดแนวความคิดที่จะนำลักษณะและวิธีการเล่นของกีฬาเทนนิสมาดัด แปลงใช้เล่น จึงมีการใช้ตาข่ายเทนนิสซึ่งระหว่างเสาโรงยิมเนเซียมสูงจากพื้นประมาณ 2 ฟุต 1 นิ้ว และใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น แล้วใช้มือและแขนตีโต้ข้ามตาข่ายกันไปมา แต่เนื่องจากยางในของลูกบาสเกตบอลเบาเกินไป จึงทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ได้ช้าและมีทิศทางที่เคลื่อนไปไม่แน่นอน จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกบาสเกตบอล แต่ลูกบาสเกตบอลก็ใหญ่ หนัก และแข็งเกินไป เพราะจะทำให้มือของผู้เล่นได้รับบาดเจ็บได้ จนในที่สุดเขาจึงให้บริษัท Ant G. Spalding and Brother Company ได้ผลิตลูกบอลที่หุ้มด้วยหนังและบุด้วยยางที่มีเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว มีน้ำหนัก 8-12 ออนซ์ หลังจากทดลองเล่นแล้ว จึงให้ชื่อเกมการเล่นนี้ว่า “มินโทเนตต์”
ต่อมาในปี ค.ศ. 1896 ได้มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ โดยนายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้สาธิตวิธีการเล่นต่อหน้าที่ประชุมหลังจากที่ประชุมได้ชมการสาธิต ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด  โดยได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจากมินโทเนตต์ เป็น วอลเลย์บอล โดยให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นโต้ลูกบอลให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นต้องพยายามไม่ให้ลูกบอลตกพื้น ส่วนในปี ค.ศ. 1928 ดอกเตอร์ จอร์จ เจ ฟิเชอร์ ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นวอลเลย์บอล เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในระดับชาติ และได้เผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล



ขอขอบคุณบทความดีดีจาก th.wikipedia.org

เทคนิคการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล



สำหรับการเล่นกีฬาทุกชนิด ก่อนการฝึกทักษะผู้ เล่นจะต้องได้รู้จักหรือสัมผัสกับอุปกรณ์ หรือวัสดุฝึกของกีฬาชนิดนั้นก่อน เช่น กีฬาวอลเลย์บอลก่อนการฝึกก็จะมีกิจกรรมสร้างความคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอล ซึ่งมีผู้กล่าวถึงการสร้างความคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอลก่อน ส่วนการกีฬาแห่งประเทศไทย กล่าวไว้ว่า ผู้เล่นควรจะคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอลเพื่อฝึกประสาทและร่างกายส่วนที่จะใช้ สัมผัสกับลูกบอลให้เกิดความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างสมบูรณ์ เมื่อลูกบอลอยู่ในลักษณะอย่างไรก็สามารถเคลื่อนที่ไปเล่นลูกบอลได้และสามารถ ใช้มือบังคับลูกบอลนั้นให้ไปในทิศทางที่ต้องการ
นออกจากนี้ยังมีการ กล่าวไว้ว่า การฝึกความคุ้นเคยกับลูกบอลนั้น เป็นการฝึกประสาทตา และร่างกายส่วนที่ใช้สัมผัสกับลูกบอล จังหวะระยะรับรู้ ความเร็วของการตอบสนอง ท่าทางการเล่น กลไกการเคลื่อนไหว การคาดคะเน ขนาด น้ำหนัก และความหยุ่นของลูกบอล และกรมพลศึกษากล่าวไว้ว่า กิจกรรมการสร้างความคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอล เป็นการปูพื้นฐานให้ร่างกายมีความพร้อม รู้จักจังหวะการเคลื่อนที่ของลูกบอล จังหวะการเข้า รับลูกบอล จุดตกของลูกบอล การคุ้นเคยกับน้ำหนักของลูกบอล การโยน ขว้าง รับ ส่ง เล่นลูกสองมือล่าง การเซตลูก สามารถกะระยะของลูกบอลได้ ระยะในการออกแรงกระทบ ลูกบอลเพื่อให้ลูกบอลตกในตำแหน่งที่ต้องการได้ ตลอดจนความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อสายตา ความคล่องตัวในการเคลื่อนที่
ดังนั้นยังเป็นกิจกรรมการสร้างความคุ้นเคยกับ ลูกวอลเลย์บอล เป็นการฝึกหัดให้เกิดความคุ้นเคยและเป็นจุดเริ่มต้นในการฝึกหัดทักษะพื้นฐาน ต่อไปความมุ่งหวังให้เกิดความคุ้นเคยความสัมพันธ์ของกลไกการเคลื่อนไหว การคาดคะเน ขนาด น้ำหนัก และความหยุ่นตัวของลูกบอล ความสัมพันธ์ของประสาท สายตา และกล้ามเนื้อของร่างกายที่ใช้สัมผัสเล่นลูกบอล จังหวะ ระยะรับรู้ ความเร็วของการตอบสนอง ท่าทาง การเล่น การเคลื่อนที่ไปยังจุดที่ลูกบอลจะตก ระยะในการออกแรงกระทบ ลูกบอลเพื่อให้ลูกบอลตกในตำแหน่งที่ต้องการได้



ขอขอบคุณบทความดีดีจาก saengpaeng4.blogspot.com

วอลเลย์บอลหญิงไทย




วอลเลย์บอลหญิงไทย

ปัจจุบันมีกีฬาหลากหลายประเภทที่ได้รับความนิยม ไม่ว่าเป็นกีฬาประเภททีมหรือว่ากีฬาประเภทเดี่ยว ซึ่งทุกวันนี้สังคมไทยเราได้ให้ความสำคัญกับการเล่นกีฬาเป็น อย่างมาก เพราะว่ากีฬาเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้ให้กับนักกีฬาหลายคนเลยก็ว่าได้ ซึ่งสำหรับนักกีฬาบางคนก็ล่นเป็นอาชีพเลย อีกทั้งกีฬายังเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่มีเวลาว่างหรือสำหรับเยาวชนที่ มีเวลาว่างๆ เพื่อที่จะได้ไม่เลือกเดินทางที่ผิด ก็สามารถเลือกเล่นกีฬาเป็นงานอดิเรกก็ได้ด้วยเช่นกันค่ะ
และกีฬาที่กำลังได้รับความนิยมและเป็นที่ฮือฮาของคนไทยเรานั้นก็คือ วอลเลย์บอลหญิงไทยนั้นเองค่ะ ซึ่งเป็นกีฬาที่กำลังสร้างชื่อเสียงให้กับคนไทยได้เป็นอย่างดี ด้วยฝีไม้ลายมือของนักตบหญิงชาวไทยเรา สามารถสร้างชื่อได้ในระดับโลก เรียกได้ว่าเป็นผลงานที่ทำให้คนไทยปลื้มใจเป็นที่สุดเลยก็ว่าได้ ซึ่งกีฬาวอลเลย์บอลหญิงไทย ก็ยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นอีก และยิ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายๆฝ่ายจึงทำให้กีฬาประเภทนี่สามารถประสบความ สำเร็จได้ และที่สำคัญนั้นก็คือความอดทนและความพยายามของนักกีฬาไทยที่อดทนมาจนได้ ประสบความสำเร็จจนถึงทุกวันนี้ และเด็กหลายๆคนก็เริ่มที่จะเล่นกีฬาเพราะว่าอยากจะเป็นเหมือนพี่ๆทีมชาติไทย ที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับคนไทยได้ ซึ่งถือว่าเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเยาวชนในทุกวันนี้ได้ดีเลยค่ะ ฉะนั้นแล้วผู้ปกครองควรที่จะให้การสนับสนุนลูกหลานของท่านให้หันมาเล่นกีฬา เพื่อที่จะได้เป็นการสร้างนักกีฬาที่เก่งๆให้กับทีมชาติไทยต่อไปได้
ไม่ว่าจะเป็นกีฬาประเภทไหนก็ล้วนแต่เป็นประโยชน์ทั้งนั้นค่ะ ฉะนั้นทุกภาคส่วนควรที่จะให้การสนับสนุนกีฬาทุกประเภท เพื่อที่กีฬาของไทยจะได้ก้าวไปสู่ระดับโลกได้นั้นเองค่ะ


ขอขอบคุณบทความดีดีจาก  ดินสอแดง

ทิศทางวอลเลย์บอลชายไทยจะไปทางไหน

 ทิศทางวอลเลย์บอลชายไทยจะไปทางไหน



วง การวอลเลย์บอลไทยในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า วอลเลย์บอลประเภททีมหญิงของเรานั้นสร้างผลงานมาอย่างต่อเนื่อง พัฒนาการของทีมหญิงในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมานี้สามารถก้าวไปเป็นทีมระดับแนวหน้าของเอเซียแล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับกีฬาประเภททีม แต่สำหรับทีมชายดูเหมือนว่าเราจะไม่ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติสักเท่า ไหร่ โดยเฉพาะในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาผลงานของทีมวอลเลย์บอลชายไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แม้กระทั่งในกีฬาซีเกมส์ครั้งล่าสุดที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ทีมชายประสบกับความล้มเหลว
เพราะ สาเหตุใดที่ทำให้ทีมวอลเลย์บอลชายของไทยจึงไม่สามารถพัฒนามากไปกว่าที่เป็น อยู่ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะดูเป็นเรื่องค่อนข้างยากที่จะทำให้ทีมชายพัฒนาไปอยู่แถวหน้าของ เอเชียอย่างเช่นทีมหญิง อาจจะเนื่องด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่างไม่เอื้ออำนวย การเสียเปรียบในเรื่องรูปร่าง แต่ทั้งหลายทั้งปวงนั้นหากเรามองว่ามันเป็นปัญหาหรืออุปสรรค ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่คนในวงการวอลเลย์บอลจะต้องร่วมมือกันแก้ไข ดีกว่าปล่อยให้มันเป็นอุปสรรคโดยไม่หาหนทางแก้ไขพัฒนา
ใน อดีตก่อนที่ทีมหญิงจะพัฒนามาได้เช่นปัจจุบัน เราเคยมีการวางแผนระยะยาว มีโครงการที่มุ่งพัฒนาทีมหญิงขึ้นมาอย่างเป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งผลของมันก็ได้แสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมอยู่แล้วในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวงการวอลเลย์บอลไทยในปัจจุบันเองก็ได้รับการยอมรับใน เรื่องการทำงาน ปัจจัยต่าง ๆ ค่อนข้างเอื้ออำนวยมากกว่าแต่ก่อนไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสนับสนุนจากภาครัฐ หรือเอกชน หรือแม้กระทั่งปัจจัยสำคัญอย่างนักกีฬาเองปัจจุบันก็มีโอกาสมากมายสำหรับนัก กีฬาวอลเลย์บอล การได้ไปเล่นอาชีพต่างประเทศถือว่าไม่ใช่เรื่องยากแล้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในแรงจูงใจที่ดีสำหรับนักกีฬา
สิ่ง ที่ทำให้ทีมวอลเลย์บอลชายไม่ค่อยประสบความสำเร็จในมุมมองหนึ่งอาจเป็นเพราะ วอลเลย์บอลชายไทยไม่มีทิศทาง ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าเราจะพัฒนาไปสู่ระดับไหน เมื่อมีเป้าหมายก็จะสามารถทำให้วางแผนและมีโครงการในการพัฒนามาสนับสนุน ทำให้มีเป้าหมายอย่างชัดเจนร่วมกัน
การ ขาดความร่วมมือกันอย่างจริงจัง การมุ่งเน้นแต่ประโยชน์ส่วนตัวหรือประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็น อุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนา ผมมีความเชื่อว่าวอลเลย์บอลชายไทย หากสามารถทำลายอุปสรรคเหล่านี้ไปได้ ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะพัฒนาก้าวหน้าไปมากกว่านี้

Thursday, January 17, 2013

กีฬาบาสเกตบอล


กีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาประเภททีม มีผู้เล่นฝ่ายละ ๕ คน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำ
ลูกบาสเกตบอลไปโยนลงห่วงประตูของฝ่ายตรงกันข้ามให้ได้มากที่สุด โดยมีทักษะการ
เล่น ได้แก่ การส่ง – รับลูกการเลี้ยงลูกและการยิงประตู
กีฬาบาสเกตบอลมีกำเนิดขึ้น เป็นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มจาก
ดร. เจมส์ เอ เนสมิท (JamesA.Naismith) ได้คิดขึ้นเพื่อเล่นในโรงพลศึกษาของ
โรงเรียนฝึกอบรม ของสมาคมวายเอ็มซีเอนานาชาติ
(International Young Men’s Christian Association Training School)
ที่เมือง สปริงฟีลด์ มลรัฐแมสซาซูเซตส์ ในช่วงที่มีหิมะตก เมื่อ ค.ศ. ๑๘๙๑ (พ.ศ. ๒๔๓๔)
โดยใช้ตะกร้าลูกพีช ๒ ใบแขวนเป็นประตู จึงทำให้กีฬานี้ได้ชื่อว่าบาสเกตบอล (Basketball)
การเล่นครั้งนั้นใช้ ลูกฟุตบอลเป็นลูกบอล มีผู้เล่นทั้งหมด ๑๘ คน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย
ฝ่ายละ ๙ คน มีกฎการเล่น ๔ ข้อ คือ
๑. ห้ามถือลูกเคลื่อนที่
๒. ห้ามมิให้ผู้เล่นปะทะตัวกัน
๓. ประตูอยู่ระดับศีรษะและขนานพื้น
๔. ผู้เล่นจะถือลูกบอลนานเท่าใดก็ได้ และผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องไม่ถูกตัวผู้เล่น

ต่อมามีการปรับปรุงการเล่นเป็น ๑๓ ข้อโดยลดผู้เล่นเหลือฝ่ายละ ๕ คน เนื่องจาก
ในการเล่นเกิดการ ปะทะกันเพราะสนามแคบ ดังนั้นจึงทำให้เกมการเล่นสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทั้งยัง
ลดการปะทะกันอีกด้วย ในปัจจุบันกติกาการเล่นดังกล่าวยังคงปรากฏอยู่ ณ โรงพลศึกษา
เมืองสปริงฟีลด์ คือ
๑. การโยนลูกจะใช้มือเดียวหรือสองมือโดยไปในทิศทางใดก็ได้
๒. การตีลูกจะใช้มือเดียวหรือสองมือตีไปทิศทางใดก็ได้
๓. ผู้เล่นจะพาลูกบอลวิ่งไม่ได้ และต้องส่งตรงจุดรับลูกบอล ยกเว้นขณะที่วิ่งมารับลูกด้วย
ความเร็วให้เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย
๔. ต้องจับลูกบอลด้วยมือทั้งสองข้าง โดยไม่ให้ใช้ส่วนอื่นของร่างกาย
๕ . การเล่นจะชน คือผลักหรือทำให้ฝ่ายตรงข้ามล้ม ถือว่าฟาวล์หนึ่งครั้ง ถ้าฟาวล์ครั้งที่สอง
ให้ออกจากการแข่งขัน จนกว่าจะมีผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยิงประตูได้จึงจะกลับมาเล่นได้อีก ถ้าเกิดการบาดเจ็บขณะเล่นไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนตัว
๖. การทุบด้วยกำปั้นถือว่าผิดกติกาให้ปรับเช่นเดียวกับ ข้อ 5
๗ . ทีมใดทำฟาวล์ติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ประตู
๘. การได้ประตูทำได้โดยการโยนหรือปัดลูกบอลให้ขึ้นไปค้างบนตะกร้า
๙. เมื่อลูกบอลออกนอกสนาม ผู้เล่นนที่จับลูกบอลคนแรกเป็นผู้ทุ่มลูกเข้ามาเล่นต่อ กรณีที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าใครก่อนหลังผู้ตัดสินจะส่งลูกบอลเข้ามาให้ ผู้ส่งจะต้องส่งลูกบอล
เข้าสนามภายใน 5 วินาที ถ้าช้ากว่านี้จะให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามส่งแทน ถ้าผู้เล่นถ่วงเวลา
การเล่นให้ปรับฟาวล์
๑๐.ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินผู้ฟาวล์ และลงโทษผู้เล่น
๑๑.ผู้ตัดสินทำหน้าที่ตัดสินลูกบอลออกนอกสนาม และรักษาเวลา บันทึกจำนวนลูกที่ได้ และทำหน้าที่ทั่วไปของผู้ตัดสิน
๑๒.การเล่นแบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 15 นาที
๑๓.ฝ่ายที่ทำประตูได้มากกว่าเป็นฝ่ายชนะหัวหน้าทีมจะตกลงกันถ้าคะแนนเท่ากัน
เพื่อต่อเวลาแข่งขัน ถ้าฝ่ายใดทำประตูได้ก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ

กติกานี้ใช้มาจนถึง ค.ศ. ๑๙๓๗ (พ.ศ. ๒๔๘๐) จึงได้ปรับปรุงแก้ไขครั้งใหญ่เพื่อใช้ใน
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ ๑๑ ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศสเยอรมนี และใน ค.ศ. ๑๙๓๙
(พ.ศ. ๒๔๘๒) ดร.เจมส์ เอ. เนสมิท ก็เสียชีวิตลง ก่อน จะได้เห็นความสำเร็จ และความยิ่งใหญ่
ในกีฬาบาสเกตบอลที่เขาคิดค้นขึ้น ต่อมาจากนั้นกีฬาบาสเกตบอลก็แพร่หลายพัฒนาการเล่น
เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วเป็นที่รู้ ้จักกันทั่วโลก องค์กรที่เกี่ยวข้องกับกีฬาบาสเกตบอลในระดับ
นานาชาติ ได้แก่ สหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (ชื่อภาษาอังกฤษ International Amateur Basketball Federation ชื่อภาษาฝรั่งเศส Fe’de’ration International de Basketball Amateur ใช้ชื่อย่อว่า FIBA) นอกจากนี้ยังมีองค์กรในระดับทวีป เช่น สมาพันธ์บาสเกตบอลเอเชีย (Asian Basketball Confederation หรือ ABC) เป็นต้น

ประวัติกีฬาวอลเลย์บอล





ประวัติกีฬาวอลเลย์บอล
กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) ได้เริ่มขึ้นในปีค.ศ.1895 หรือ พ.ศ. 2438 โดย William G. Morgan ผู้อำนวยการด้านพลศึกษาแห่งสมาคม Y.M.C.A. ( Young Mans Christian Association) เมืองโฮล์โยค ( Holyoke) มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้เกิดขึ้นเพียง 1 ปี ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ ครั้งที่ 1 ณ กรุงเอเธนส์ โดยเขาได้พยายามคิดและดัดแปลงกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ใช้เป็นกิจกรรมนันทนาการหรือผ่อนคลายความตึงเครียดให้เหมาะสมกับฤดู กาล และเขาก็เกิดความคิดขึ้นในขณะที่ได้ดูเกมเทนนิส เพราะกีฬาเทนนิสเป็นกีฬาที่ต้องใช้อุปกรณ์ เช่น แร็กเกต ลูกบอล ตาข่าย และอุปกรณ์อื่นๆ อีกมาก จึงได้มีแนวคิดที่จะใช้ตาข่ายสูง 6 ฟุต 6 นิ้ว จากพื้นซุงเป็นระดับสูงกว่าความสูงเฉลี่ยของผู้ชาย และได้ใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลมาทำเป็นลูกบอล แต่ปรากฏว่ายางในลูกบาสเกตบอลเบาและช้าเกินไป จึงได้ใช้ยางนอกของลูกบาสเกตบอล ซึ่งก็ปรากฏว่าใหญ่และหนาเกินไปไม่เหมาะสม ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2449 Morgan ได้ติดต่อบริษัท A.G.Spalding and Brother ให้ทำลูกบอลตัวอย่างขึ้น 1 ลูก โดยมีขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว น้ำหนัก 9-12 ออนซ์ เพื่อนำมาใช้แทนลูกบาสเกตบอล