Tuesday, November 6, 2012

เกมรับกลยุทธ์การป้องกันในกีฬาวอลเลย์บอล

 

การ ป้องกันหรือการเล่นเกมรับในกีฬาวอลเลย์บอลนั้นประกอบไปด้วย การสกัดกั้นและการตั้งรับ เป็นยุทธวิธีที่สำคัญอย่างหนึ่งในการแข่งขัน ทีมที่มีเกมรับที่ดีมีโอกาสประสบความสำเร็จในการแข่งขันสูง ในการแข่งขันประเภททีมหญิงเรามักพบว่าทีมที่มีเกมรับดีเหนียวแน่น มักจะได้รับชัยชนะส่วนประเภททีมชายที่มีการรุกการตบบอลที่รุนแรง การสกัดกั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทีมที่จะประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตามเกมรับที่ดีต้องประกอบด้วยการสกัดกั้นและการตั้งรับควบคู่กัน
เกม รับเป็นการทำงานประสานกันระหว่างการสกัดกั้นและการตั้งรับ เกมรับจะประสบคามสำเร็จได้นั้นเป็นผลมาจากการฝึกซ้อมอย่างดี โดยต้องมีการเก็บข้อมูล (Scouting) วิเคราะห์ ข้อมูลทั้งในส่วนของทีมและคู่ต่อสู้อย่างเป็นระบบเช่นข้อมูลการวางตำแหน่ง ผู้เล่น 6 คนแรก จุดแข็ง จุดอ่อน รูปแบบการเล่นของคู่แข่ง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยเราในการพัฒนาเกมรับ (จำเป็นมากในการแข่งขันของทีมระดับสูง)
เป้าหมายของการป้องกัน
1. รักษาเกมเสริฟของทีม
2. ยับยั้งการรุกของคู่ต่อสู้ไม่ให้ประสบความสำเร็จ
3. สามารถเปลี่ยนจากการตั้งรับเป็นการรุกโต้กลับ
การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาเกมรับ
การเก็บข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาเกมรับของทีมควรจะทำทั้ง 2 ฝ่ายคือทีมเราเองและฝ่ายคู่ต่อสู้
วิเคราะห์ข้อมูลของทีม
ข้อมูลด้านต่างๆ ของทีมเราเองที่ผู้ฝึกสอนควรนำมาพิจารณาคือ
1. เทคนิค กลยุทธ์ ทักษะและความสามารถในการสกัดกั้นและการรับของนักกีฬาในทีม
2. ตำแหน่งผู้เล่น 6 คนแรกของทีม และตำแหน่งในแต่ละรอบ ทั้ง 6 ตำแหน่ง
3. ระบบการรุกของทีมเพื่อใช้ฝึกซ้อมการสกัดกั้นและการตั้งรับ (แม้ว่ารูปแบบการรุกบางอย่างทีมของเราไม่ได้ใช้ แต่จำเป็นต้องฝึกซ้อม เพราะคู่แข่งอาจจะมีรูปแบบการรุกไม่เหมือนทีมเราเอง)
4. ทักษะการเล่นของผู้เล่นสกัดกั้นตัวกลาง (ผู้เล่นตำแหน่งนี้มีส่วนสำคัญในการสกัดกั้น) ผู้เล่นตัวรับอิสระ (มีส่วนสำคัญในการรับ)
วิเคราะห์ข้อมูลคู่แข่ง
การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลของคู่แข่งมีจุดต่าง ๆ ที่ต้องพิจารณาดังนี้
1. จุดแข็งจุดอ่อนในการรับลูกเสริฟแต่ละตำแหน่ง ผู้เล่นตัวรับอิสระ รวมทั้งความสามารถในการเปลี่ยนเกมรับเป็นเกมรุก
2. การเซต โดยวิเคราะห์ในส่วนต่างๆ คือ
2.1 ผู้เล่นตัวเซตมีการเล่นจังหวะ 2 หรือไม่ ถ้ามีมักจะเล่นในสถานการณ์ใด
2.2 การเปลี่ยนตำแหน่งของตัวเซตเป็นอย่างไร
2.3 ลักษณะการเซตเพื่อให้ผู้เล่นตบบอลเร็วตบเป็นอย่างไร
เช่น กระโดดเซต ยืนเซต หรือจะเซตให้บอลเร็วเมื่อบอลแรกเข้าจุด
2.4 เมื่อสถานการณ์เกมสำคัญ ตัวเซตจะเซตบอลไปให้ใครตบ
เมื่อสถานการณ์เกมกดดัน หรือเข้าสู่ช่วงสำคัญโดยส่วนใหญ่ตัวเซตมักจะมีเป้าหมายประจำตัวอยู่แล้ว
2.5 เมื่อการรับลูกเสริฟเข้าจุด ตัวเซตมักเซตบอลลักษณะใด ในสถานการณ์ปกติ
ลักษณะเฉพาะของแต่ละทีมจะต่างกัน เช่น บางทีมเมื่อรับลูกเสริฟเข้าจุดมักจะรุกด้วยบอลเร็วเสมอ
2.6 เมื่อสถานการณ์สำคัญๆ ตัวเซตมีการเซตให้ผู้เล่นบอลเร็วตบหรือไม่
การรุกด้วยบอลเร็วมีโอกาสผิดพลาดง่ายหากความสัมพันธ์ระหว่างตัวเซตและตัวตบไม่ดี   
2.7 ตัวเซตเซตบอลให้ตัวตบที่เพิ่งจะตบเสียหรือไม่ในลูกต่อไป
2.8 คู่แข่งมีการรุกแบบผสม
(Combination Attack) หรือไม่ อย่างไร
การรุกแบบผสมนั้นตัวเซตจะเล่นในสถานการณ์ใด เช่น สถานการณ์สำคัญ สถานการณ์ที่ไม่กดดัน
2.9 ความแตกต่างของการเซต
เช่น กระโดดเซตหรือยืนเซตจะเซตๆ ให้ใคร ลักษณะท่าท่าทางการเซตจะเซตลูกใด
3. ประสิทธิภาพและความถี่และทิศทางการรุกของผู้เล่นตัวรุก
ต้องพิจารณาทั้ง 6 ตำแหน่ง โดยศึกษาข้อมูลต่างๆ เหล่านี้คือ
3.1 ในแต่ละรอบผู้เล่นตัวตบหลักคือใคร (ตัวเซต ๆ บอลให้ใครมากที่สุด)
3.2 ในแต่ละรอบมีการรุกแบบผสมหรือไม่ อย่างไร
3.3 การยืนรับลูกเสริฟมีการใช้การยืนหลอกหรือไม่
3.4 มีผู้เล่นที่รุกแบบผสมผสานกี่คน
3.5 รูปแบบการรุกแบบผสมผสานมีความแตกต่างกันหรือไม่เมื่อตัวเซตอยู่แดนหน้าและแดหลัง
4. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่นตบบอลเร็วกับผู้เล่นตัวเซต
การ วิเคราะห์ศึกษาดูความสัมพันธ์ในการเล่น ตัวเซตสามารถเซตให้ผู้เล่นบอลเร็วตบได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่อย่างไร เพื่อได้ข้อมูลซึ่งจะช่วยให้ผู้เล่นในแนวสกัดกั้นทำงานได้ง่ายขึ้น โดยศึกษาในส่วนต่างๆ เหล่านี้
4.1 การรุกด้วยบอลเร็วเป็นการใช้เพื่อการหลอกหรือการรุกจริง
4.2 จังหวะการเซตให้ผู้เล่นบอลเร็วตบมีความแตกต่างกันอย่างไร
4.3 ทิศทางหลักๆ ในการตบของผู้เล่นตบบอลเร็ว
4.4 ผู้เล่นบอลเร็วใช้การหยอดหรือไม่
4.5 เมื่อลูกบอลไม่เข้าจุด ตัวเซตมีการเซตให้บอลเร็วตบหรือไม่
5. ศึกษาลักษณะการรุกของผู้เล่นตัวตบบอลหลัก
ผู้เล่นตบบอลหลักเป็นผู้เล่นที่มีปริมาณการตบบอลมากที่สุด เราควรศึกษาการเล่นของตัวตบบอลหลักในรายละเอียดดังต่อไปนี้
5.1 ความสามารถในการตบเมื่อต้องเป็นส่วนหนึ่งในการรับลูกเสริฟ (ถอยไปรับลูกเสริฟ)
5.2 เมื่อต้องเป็นส่วนหนึ่งในการรับลูกเสริฟ สามารถเล่นการรุกแบบผสมได้หรือไม่
5.3 เมื่อต้องเป็นส่วนหนึ่งในการรับลูกเสริฟ ความสามารถในการตบเมื่อมีการสกัดกั้น 2 คนเป็นอย่างไร

5.4 ทิศทางการตบบอลของผู้เล่นตบบอลหลัก
5.5 ลักษณะของบอลที่ตบ ตบลงใกล้เส้นรุกหรือท้ายสนาม
5.6 ลักษณะการเคลื่อนที่เข้าตบ แบบตรงๆ หรือหลอกเปลี่ยนทิศทาง
5.7 ลักษณะการใช้แขนการใช้ข้อมือ
5.8 ลักษณะบอลที่ชอบ เช่น สูง ต่ำ พุ่ง หรือช้า
5.9 สามารถตบบอลเหนือการสกัดกั้นได้หรือไม่
ข้อมูล ต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมานี้ มีผลต่อการพัฒนาเกมรับของทีม ตัวอย่างเช่นข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างตัวเซตกับผู้เล่นตบบอลเร็วของคู่ ต่อสู้ มีผลต่อการสกัดกั้นของผู้เล่นตำแหน่งกลางหน้า และการตั้งรับของผู้เล่นแดนหลังในตำแหน่ง 1 และตำแหน่ง 5 เป็นต้น
ข้อมูลบางส่วนจาก : Handbook for Competitive Volleyball

Key Success Factor วอลเลย์บอลไทยของปริม อินทวงศ์ อดีตมือเซตอัจฉริยะ



ใคร ที่เป็นแฟนกีฬาคงจะจำเธอได้ ปริม อินทวงศ์ "มือเซตอัจฉริยะ" อดีตนักกีฬาวอลเลย์บอลทีมชาติไทย เธอได้กล่าวถึงความสำเร็จของวงการวอลเลย์บอลในมุมมองของเธอไว้ได่น่าสนใจ...
...... ใครจะว่าอย่างไรไม่รู้... แต่พี่เจนเคยให้สัมภาษณ์ทั้งทีวีและหนังสือว่า "โค้ชอ๊อด" คือ Key Success Factor ของวอลเลย์บอลไทย ผู้สัมภาษณ์เกิดอาการสะดุด ประมาณ...ขนาดนั้นเลยเหรอ!!!!

พี่เจนไม่ ได้หมายความว่าคนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่สำคัญ ทุกคนสำคัญหมด ทุกคนเป็น Success Factors แต่คนที่เป็น "Key" ในมุมมองพี่เจน คือ "โค้ชอ๊อด" ที่บอกเช่นนี้เพราะพี่เจนเห็นและรับรู้ทุกสิ่งอย่างที่โค้ชอ๊อดวางแผนและลง มือทำตั้งแต่ปี 1997 ซึ่งเป็นช่วงบั้นปลายชีวิตการเล่นวอลเลย์บอลในนามทีมชาติไทยของพี่เจน

"โค้ช อ๊อด" เป็นคนแรกที่กล้าประกาศว่าเราจะไป "โอลิมปิค" ใคร ๆ ก็บอกว่าฝันไกลเกินไป แต่โชคดีที่สมาคมวอลเลย์บอลและอีกหลาย ๆ หน่วยงานพยายามช่วยสนับสนุนให้ฝันของ "โค้ชอ๊อด" กลายเป็นจริงให้ได้

จะ มีใครรู้ว่า "โค้ชอ๊อด" ทำงานเหมือนคนบ้า ทุ่มเททั้งตัวและหัวใจเพื่อที่จะไปให้ถึงฝัน ต้องอดทนกับแรงกดดันอย่างมากมายทั้งภายใน ภายนอก ต้องสูญเสียช่วงเวลาความสุขในชีวิตไปไม่รู้เท่าไหร่ แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ฝันของ "โค้ชอ๊อด" ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ยังคงพยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายให้ได้

พี่เจนมี โอกาสได้พูดคุยกับ "โค๊ชอ๊อด" บ่อยครั้ง จึงได้รับทราบแนวคิดการทำทีมอย่างลึกซึ้ง และชัดเจนว่าหน้าที่ของ "โค้ช" คือต้องศึกษาหาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับทีมเราในการไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ "ภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่มากมาย"

เราอาจจะเห็น "โค้ช" แค่ 3 ชั่วโมงในการฝึกซ้อม แต่อีก 21 ชั่วโมงที่เหลือ มีใครรู้บ้างว่า "โค้ช" ทำอะไรในการหาวิธีที่ดีที่สุดของทีม แล้ว "โค้ช" มีเวลานอนแค่กี่ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม แม้แต่เวลานอน พี่เจนก็มั่นใจว่า "โค้ช" ยังต้องคิดเรื่องทีมอยู่

ในฐานะที่พี่เจนใกล้ชิดกับ "โค้ชอ๊อด" มาตั้งแต่สมัยเล่นทีมชาติด้วยกัน จนปัจจุบัน "โค้ชอ๊อด" เป็นโค้ชระดับโลกที่ใคร ๆ ต้องพูดถึง ยืนยันว่า "โค้ชอ๊อด" เป็นคนที่มีจิตใจดีมาก ๆ รักพี่ รักน้อง รักเพื่อนฝูงมาก ถึงแม้บางครั้ง "โค้ชอ๊อด" จะดุบ้าง แต่นี่คือหนึ่งในบทบาทที่ต้องแสดงในฐานะ "โค้ช"

และปีนี้เราก็ "เกือบ" จะทำฝันในการไปโอลิมปิคสำเร็จ... แต่ไม่เป็นไรค่ะ ฝันของเราจะยังคงเป็นความฝันต่อไป

คง ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ที่ความฝันซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากความมุ่งมั่น... ความฝันของคนเพียงคนเดียวในวันนั้น จะกลายมาเป็นฝันของคนประเทศในวันนี้

คง ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ความฝันของคนเพียวคนเดียวที่ใคร ๆ มองว่าเป็นไปไม่ได้ในวันนั้น จะกลายเป็นความฝันที่เอื้อมถึงแล้ว... ในวันนี้

แม้เราจะยังคว้าไม่ได้... แม้เราจะต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนนักกีฬาหน้าใหม่มาทำหน้าที่เพื่อชาติ แต่พี่เจนเชื่อว่า "โค้ชอ๊อด" จะยังคงอยู่ ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าล่าฝันต่อไป แม้จะต้องแลกด้วยการสูญเสียอะไรบางอย่างในชีวิตไปอีกก็ตาม

ที่ผ่านมา พวกเราชื่นชมนักกีฬาที่ทุ่มเทหัวจิตหัวใจในเกมการแข่งขันมาโดยตลอด พี่เจนก็เป็นหนึ่งในนั้นเหมือนกัน

แต่วันนี้พี่เจนขอสดุดี "โค้ชอ๊อด" ผู้เป็น "Key" Success Factor ของวอลเลย์บอลไทยแบบยาว ๆ นะคะ

ขอ ให้ "พี่อ๊อด" ของเรามีพลังกาย พลังใจในการล่าฝันต่อไปในอีก 4 ปีข้างหน้า เจนภูมิใจในตัว "พี่อ๊อด" มาก และภูมิใจสุด ๆ ที่ "พี่อ๊อด" ไม่ได้เดินคนเดียวอีกต่อไปแล้ว แต่มีคนไทยทั้งประเทศมาเดินเคียงข้างเพื่อร่วมฝันด้วยแล้วค่ะ ช่างเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่เหลือเกิน

ท้ายที่สุด อยากจะบอกทั้งโค้ชและนักกีฬาอีกครั้ง ว่าเมื่อไหร่ที่รู้สึกท้อแท้ เหนื่อยล้า สิ้นหวัง จงหันกลับมามองข้างหลัง คุณจะเห็นคนไทยทั้งประเทศยืนอยู่เต็มไปหมดเลย มืดฟ้ามัวดิน... พร้อมที่จะส่งมอบความรัก ความอบอุ่น ความปรารถนาดี เพื่อที่จะเป็นพลังให้คุณมีแรงกาย แรงใจกลับไปทำหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ต่อไป...

วิทยุการบินฯ มินิวอลเลย์บอล รากฐานสำคัญวงการวอลเลย์บอลไทย

สร้าง ความประทับใจและความภาคภูมิใจให้กับคนไทยไม่น้อยสำหรับทีมวอลเลย์บอลหญิงทีม ชาติไทย แต่กว่าที่จะก้าวมาถึงจุดนี้ได้ ต้องผ่านอุปสรรคและข้อจำกัดมากมาย ใช้เวลานับสิบปีกว่าจะเห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรมดังเช่นทุกวันนี้ ทั้งนี้ความสำเร็จที่ได้มาเกิดจากวิสัยทัศน์ ความเสียสละของบุคคลหลายๆ กลุ่มในวงการวอลเลย์บอลที่พยายามผลักดัน สมาคมวอลเลย์บอลเองมีการวางแผนโครงการระยะยาวในการสร้างบุคลากรเพื่อพัฒนาวง การวอลเลย์บอลให้เจริญก้าวหน้า การจัดการแข่งขันในหลายๆ ระดับอายุเป็นโครงการหนึ่งที่สำคัญช่วยสร้างพัฒนานักกีฬาตามลำดับขั้นผลิต นักกีฬามากมายให้กับวงการวอลเลย์บอลไทย และหนึ่งในรายการที่สำคัญนั้นคือ การแข่งขัน วิทยุการบินฯ มินิวอลเลย์บอล นักเรียนระดับประถมศึกษา อายุไม่เกิน 12 ปี ทั้งชายและหญิงทั่วประเทศ โดยบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด เป็นผู้จัดการแข่งขัน

บริษัท วิทยุการบินฯ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ให้การสนับสนุนกีฬาวอลเลย์บอลมาอย่างยาวนาน จากสิบกว่าปีที่ผ่านมาบริษัทวิทยุการบินฯ เคยมีทีมวอลเลย์บอลหญิงที่แข็งแกร่งในระดับแชมป์ถ้วยพระราชทาน ก. เป็นทีมที่อุดมไปด้วยบรรดานักกีฬาทีมชาติในอดีตที่เป็นพนักงานของบริษัทเอง ยังได้ก่อกำเนิดการแข่งขันในระดับอายุ 12 ปี ที่สำคัญและสร้างความตื่นตัวให้กับการแข่งขันในระดับนี้เป็นอย่างมากในปี พ.ศ.2543 การจัดการแข่งขันประสบความสำเร็จ และได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาวอลเลย์บอลระดับชาติ สิ่งหนึ่งที่น่าประทับใจคือวัตถุประสงค์ในการจัดการแข่งขันเพื่อเป็นการ สร้างโอกาสให้ยุวชนที่มีฐานะยากจนจำนวนมากได้มีประสบการณ์ที่ดี ได้รับการพัฒนาฝีมือ และยังเป็นโอกาสที่จะได้รับการคัดเลือกเข้าโรงเรียนประจำจังหวัด รวมถึงเข้าร่วมการแข่งขันในระดับประเทศหลายรายการ นับได้ว่านอกจากเป็นการสนับสนุนด้านกีฬาแล้วยังเป็นการสร้างโอกาสให้กับ เยาวชนของชาติอีกด้านหนึ่งด้วย ทีมชาติไทยจะพัฒนาต่อเนื่องไปได้ ย่อมจะต้องมีรากฐานที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับพื้นฐานจะต้องได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี เพราะพวกเขาเหล่านั้นคืออนาคตของวงการวอลเลย์บอลและประเทศไทย ซึ่งจะทำให้การพัฒนาจะยั่งยืน
สำหรับ แฟนกีฬาวอลเลย์บอลหากมีโอกาสลองติดตามชมและให้กำลังใจอนาคตของไทยกันดูนะ ครับ ท่านจะเห็นความสดใสนักวอลเลย์บอลน้อยๆ ที่มีความสุขกับการเล่นวอลเลย์บอล ไม่แน่ในอนาคตหนูน้อยที่เรานั่งเชียร์อยู่อาจจะซุปเปอร์สตาร์ของวงการ วอลเลย์บอลในอนาคตก็เป็นได้
กำหนดการแข่งขัน
การแข่งขันรอบคัดเลือกระดับจังหวัด ระหว่างเดือนมิถุนายนกันยายน 2555
การแข่งขันรอบคัดเลือกระดับภูมิภาค ระหว่างเดือนตุลาคมพฤศจิกายน 2555
การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ เดือนธันวาคม 2555
ส่วนกำหนดการแข่งขันอย่างละเอียดสามารถติดตามได้ที่ http://www.aerothai.co.th/minivolleyball/index.htm

กลยุทธ์ของผู้เล่นตัวรุกในกีฬาวอลเลย์บอล

หลังจากวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีกจบเลกแรกลงทำให้ผมพอจะหาเวลาว่างได้บ้าง เลยลุยนำเสนอเทคนิคการเล่นวอลเลย์บอลให้ได้ศึกษากัน โดยหลังจากเขียนเรื่องกลยุทธ์ของตัวเซตในตอนที่แล้ว ในตอนนี้จะนำเรื่องกลยุทธ์ของตัวรุกในตำแหน่งต่างๆ ซึ่งอาจจะต้องแบ่งเป็นตอน ๆ ต่อเนื่องกันไป
ในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล ตำแหน่งผู้เล่นตัวรุกหรือ "ตัวตบ" มักจะเป็นตำแหน่งที่ผู้เริ่มเล่นวอลเลย์บอลโดยส่วนใหญ่อยากจะเล่นมากที่สุด และในตำแหน่งตัวรุกยังสามารถแยกประเภทออกเป็นการรุกลักษณะต่างๆ ได้อีก เช่น ผู้เล่นตัวตบหัวเสา ผู้เล่นตบบอลเร็ว ผู้เล่นตบบอลบี (Co-setter)
จาก การเก็บข้อมูลวิเคราะห์การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงในระดับสูง ในเรื่องการกระโดดของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงตำแหน่งต่างๆ ซึ่งได้ผลดังนี้
- ช่วงระยะเวลาในการกระโดดแต่ละครั้ง
ผู้เล่นตบหัวเสา จะต้องกระโดดเฉลี่ยประมาณ 38.6 วินาทีต่อครั้ง
ผู้เล่นตบบอลเร็ว กระโดดเฉลี่ยประมาณ  24.6 วินาทีต่อครั้ง
ผู้เล่นตัวเซต กระโดดเฉลี่ยประมาณ 56 วินาทีต่อครั้ง
- จำนวนครั้งที่กระโดดต่อระยะเวลา 1 ชั่วโมง
ผู้เล่นตบหัวเสา กระโดดประมาณ 49.4 ครั้งต่อชั่วโมง
ผู้เล่นตบบอลเร็ว กระโดดประมาณ 76.7 ครั้งต่อชั่วโมง
ผู้เล่นตัวเซต กระโดดเฉลี่ยประมาณ 52.5 ครั้งต่อชั่วโมง
ส่วนในประเภททีมชาย ค่าเฉลี่ยจะกระโดดมากกว่าทีมหญิง
ผู้เล่นตบหัวเสา จะต้องกระโดดเฉลี่ยประมาณ 32 วินาทีต่อครั้ง สูงสุด 15.9 วินาทีต่อครั้ง
ผู้เล่นตบบอลเร็ว กระโดดเฉลี่ยประมาณ  20 วินาทีต่อครั้ง สูงสุด 18 วินาทีต่อครั้ง
ผู้เล่นตบบอลบี Co-setter กระโดดเฉลี่ยประมาณ 31 วินาทีต่อครั้ง สูงสุด 15.9 วินาทีต่อครั้ง
จาก ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นทำให้เราทราบว่าผู้เล่นตัวตบที่ต้องมีสมรรถภาพในการ กระโดดสูงก็คือผู้เล่นตบบอลเร็ว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ฝึกสอนสามารถนำไปวิเคราะห์วางแผนการฝึกซ้อม ผู้เล่นตัวรุกในตำแหน่งต่างๆ ได้
ในตอนต่อไปผมจะนำเสนอเทคนิคกลยุทธ์ของผู้เล่นตัวรุกในแบบต่างๆ ซึ่งน่าเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจในกีฬาวอลเลย์บอลอย่างมาก

กลยุทธ์และเทคนิคของผู้เล่นตัวตบบอลเร็ว (Quick hitter)

ใน ตอนที่ผ่านมาผมได้เกริ่นไปบ้างแล้วเกี่ยวกับเรื่องกลยุทธ์ของผู้เล่นตัวรุก ซึ่งในการแข่งขันวอลเลย์บอลตำแหน่งตัวรุกยังแตกต่างกันไปอีกทั้งเรื่อง กลยุทธ์ เทคนิค ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ผู้ฝึกสอน นักกีฬาควรให้ความสนใจศึกษาว่าในแต่ละประเภทของการรุก คุณสมบัติของผู้เล่นควรมีอย่างไร เพื่อจะได้เลือกผู้เล่นหรือฝึกซ้อมได้อย่างถูกต้อง ในตอนนี้ผมจะนำเสนอกลยุทธ์เทคนิคของผู้เล่นตัวตบบอลเร็ว (Quick hitter) เป็นตอนแรก
ผู้เล่นตบบอลเร็ว (Quick hitter)  

ผู้ เล่นตบบอลเร็วกล่าวได้ว่าเป็นผู้เล่นที่มีความสำคัญมากที่สุดในกระบวนการรุก เพราะแผนการรุกต้องประกอบด้วยบอลเร็วอันดับแรก และแผนการรุกแบบผสมผสาน (Combination) จะเกิดขึ้นได้ต้องมีการรุกด้วยบอลเร็วและรอบๆ ตำแหน่งบอลเร็ว เช่นที่ภาษาวอลเลย์บอลบ้านเราเรียกว่า บอลทับ (AB) หรือบอลแทรก (XB)
คุณสมบัติ ด้านจิตใจของผู้เล่นตบบอลเร็วที่สำคัญต้องมีจิตใจความเป็นนักสู้ เป็นผู้เสียสละสูง สาเหตุเพราะในการแข่งขันแผนการเล่นจะประสบความสำเร็จหรือไม่เกิดจากผู้เล่น บอลเร็วต้องกระโดดเพื่อทำการตบทุกครั้ง และหลายครั้งเป็นการกระโดดโดยที่ไม่ได้ตบบอล เป็นเพียงตัวหลอกแนวสกัดกั้นของคู่ต่อสู้เท่านั้น และนอกจากนี้ยังเป็นผู้เล่นที่ทำการสกัดกั้นมากที่สุดในทีมอีกด้วย เราไม่สามารถวัดความสำเร็จของผู้เล่นบอลเร็วจากการตบบอลได้อย่างเดียว แต่ต้องรวมถึงความสำเร็จในแผนการรุกที่ผู้เล่นบอลเร็วสามารถดึงผู้สกัดกั้น ฝ่ายตรงข้ามได้ โดยที่เพื่อนร่วมทีมสามารถตบบอลโดยมีผู้สกัดกั้นเพียงคนเดียว ด้วยเหตุนี้จึงมักเรียกตัวตบบอลเร็วว่าเป็น ตัวหลอก ทำหน้าที่ปิดทองหลังพระในทีมโดยแท้จริง
นอก จากนี้ผู้ที่จะเล่นตำแหน่งตบบอลเร็วจะต้องใจกว้าง มีทัศนคติที่ดีต่อตัวเซต ต้องตระหนักถึงบทบาท เชื่อมั่นในตัวเซตว่าเป็นผู้กำหนดแผนการรุก แม้ว่าหลายครั้งจะต้องกระโดดโดยไม่ได้ตบบอลก็ตาม ต้องคิดถึงความสำเร็จของทีมเป็นหลัก หากผู้เล่นตบบอลเร็วสามารถดึงความสนใจของตัวสกัดกั้นให้กระโดดตามโดยทำให้ เพื่อนร่วมทีมได้ตบบอลโดยมีการสกัดกั้นคนเดียวหรือไม่มี ถือว่าเป็นความสำเร็จ เป็นการทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว หากตัวเซตเซตบอลมาให้ตบก็ต้องสามารถทำคะแนนได้
คุณสมบัติ ด้านกายภาพที่จำเป็นของผู้เล่นตบบอลเร็ว ต้องมีความสูงและคล่องแคล่วเพราะในสถานการณ์การแข่งขันผู้เล่นบอลเร็วจะเป็น ตัวสกัดกั้นตัวกลาง (Middle blocker) ซึ่งต้องเคลื่อนที่สกัดกั้นตลอด ในทีมชั้นนำระดับนานาชาติประเภททีมชาย ผู้เล่นตำแหน่งนี้จะมีความสูงประมาณ 2 เมตร กระโดดสูงประมาณ 3.60 เมตร ส่วนทีมหญิงส่วนสูงประมาณ 1.85 เมตร กระโดดสูงประมาณ 3.30 เมตร สำหรับทีมในประเทศไทย หากผู้ฝึกสอนมีผู้เล่นบอลเร็วที่มีคุณภาพก็จะทำให้ประสิทธิภาพในเกมรุก การป้องกันมีประสิทธิภาพมากส่งผลต้อความสำเร็จของทีม
คุณลักษณะของผู้เล่นตบบอลเร็ว ผู้เล่นตำแหน่งนี้ต้องเคลื่อนที่ได้รวดเร็วในระยะ 2-3 เมตร มีปฏิกิริยาและทักษะในการกระโดดดีมาก และต้องมีสมรรถภาพร่างกายที่ดีพอที่จะยืนระยะการเล่นจนจบการแข่งขัน ด้านเทคนิคพื้นฐานควรมีคุณลักษณะดังนี้

  • ตบบอลเร็วได้ทั้งด้านหน้าและหลังตัวเซต การเคลื่อนที่กระโดดได้จังหวะที่เหมาะสม ง่ายต่อการเซตของตัวเซต
  • รุกได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อมีการสกัดกั้นเพียงคนเดียว และต้องไม่สร้างความผิดพลาดเอง
  • มีปฏิกิริยาตอบสนองและใช้ข้อมือในการตบได้อย่างรวดเร็ว
ใน ตอนต่อไปผมจะมาพูดคุยกันในเรื่องเทคนิคขั้นสูงของการตบบอลเร็ว ซึ่งปัจจุบันผมมองว่าเป็นปัญหาของทีมวอลเลย์บอลในเมืองไทยที่ไม่ค่อยมีผู้ เล่นบอลเร็วเก่งๆ โดยเฉพาะทีมชาย ในอดีตเรามี จรัญ พระคุ้มครอง ขจรศักดิ์ มานะพรชัย มนูญ ยืนยง สุนทร โพธิสีตา เล่นบอลเร็วได้เก่งมาก มีเทคนิคการเล่นแพรวพราว แต่ปัจจุบันผู้เล่นบอลเร็วของไทยเราเทคนิคไม่ดีเท่าผู้เล่นสมัยก่อน หากเราฝึกฝนกันจริงจัง ให้ความสำคัญกับบอลเร็วให้มากกว่านี้น่าจะเป็นประโยชน์มากขึ้น

เทคนิคการตบบอลเร็วขั้นสูง (วอลเลย์บอล)

การ เล่นวอลเลย์บอลในตำแหน่งตัวตบบอลเร็วหากจะให้มีประสิทธิภาพสูง นักกีฬาจะต้องพยายามพัฒนาเทคนิคการเล่นให้ได้หลากหลายนอกเหนือจากการเล่นแค่ บอลเร็ว A หน้า/หลังตัวเซต บอลเร็วห่าง X หน้า/หลัง ตัวเซต หรือกระเติงไหลหลัง ทั้งนี้เพื่อให้คู่ต่อสู้ไม่สามารถจับทางได้ง่าย การเล่นบอลเร็วนั้นหากนักกีฬามีความคิดสร้างสรรค์จะสามารถสร้างรูปแบบการรุก บอลเร็วได้มากมายหลายแบบ เทคนิคที่ผมจะนำเสนอเป็นเทคนิคขั้นสูงในการเล่นบอลเร็วซึ่งมีหลายแบบโดยช่วง แรกจะเป็นเทคนิคที่เหมาะสมสำหรับนักวอลเลย์บอลชายมีดังนี้

1. “บอลพม่า (เป็นชื่อเรียกเทคนิคการเล่นบอลเร็วขั้นสูงชนิดหนึ่งที่รู้จักกันดีในประเทศไทย) (Faking A-quick and hitting B)
เทคนิคนี้เป็นการเล่นในลักษณะที่ผู้เล่นบอลเร็วเข้าทำการรุกในลักษณะบอล A แต่ในจังหวะกระโดดจะไม่กระโดดทันที ดึงจังหวะให้ตัวเซตเซตบอล B (บอลที่สูงเหนือตาข่าย 1-2 เมตร) จึงกระโดดตบ การเล่นลักษณะนี้เมื่อเราเข้าทำการรุกในลักษณะบอลเร็วจะหลอกให้ตัวสกัดกั้น กระโดดสกัดกั้นบอลเร็วแต่เราดึงจังหวะเพื่อตบบอล B เมื่อตัวสกัดกั้นตกสู่พื้นพอดีทำให้ไม่มีการสกัดกั้น
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
สามารถใช้เทคนิคนี้เล่นกับการรุกในลักษณะบอลเร็วห่างตัวเซต X ได้ด้วยอาจเรียกบอลลักษณะนี้ว่า X พม่า และบอลพม่านี้สามารถเล่นได้ทั้งด้านหน้าตัวเซตและด้านหลังตัวเซต
2. “บอล XB” (Faking A-quick and hitting B) 
เทคนิคนี้ลักษณะการเล่นคือผู้เล่นเข้าทำการรุกในลักษณะบอลเร็วห่างตัวเซต X แต่เปลี่ยนทิศทางมาตบบอล B ใกล้ตัวเซต
3. “เข้าทำการรุกลักษณะบอล A แต่ทำการรุกไหลหลัง
เทคนิค การเล่นนี้เป็นการเล่นคล้ายบอลพม่า โดยเข้าทำการรุกในลักษณะบอลเร็วหน้าแต่เปลี่ยนทิศทางการรุกโดยเคลื่อนที่ไป ตบบอลไหลหลัง สำหรับผู้เล่นที่ถนัดมือซ้ายสามารถเล่นเทคนิคนี้ได้เช่นกันโดยเปลี่ยนจากการ เข้าหลอก A หน้ารุกไหลหลังเป็นการเข้าหลอก A หน้ารุกไหลหน้าแทน
เทคนิค การเล่นนี้เป็นการเล่นที่ผู้เล่นเข้าตบลักษณะบอลเร็วหน้า ซึ่งจะทำให้ตัวสกัดกั้นกระโดด เปลี่ยนทิศทางการรุกจะทำให้ไม่มีการสกัดกั้นหากผู้เล่นตัวสกัดกั้นหน้าซ้าย กระโดดสกัดกั้นบอล A ที่ผู้เล่นเข้าหลอก หรือหากผู้เล่นสกัดกั้นตัวกลางกระโดด ก็อาจจะทำให้ผู้เล่นหน้าซ้ายต้องเคลื่อนที่สกัดกั้นเพียงคนเดียว
4. เทคนิคการลอยตัวตบ (Flyer)”
เทคนิค การลอยตัวตบเป็นเทคนิคการเล่นที่กระโดดจากจุดหนึ่งแต่ลอยตัวไปตบบอลที่จุด หนึ่ง ซึ่งเทคนิคนี้จะเป็นต้องมีศักยภาพในการกระโดดได้อย่างยอดเยี่ยม ผู้เล่นสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการลอยตัวสร้างสรรค์การรุกได้หลากหลาย
4.1 การกระโดดลอยตัวจากด้านหน้าตัวเซต (ดูภาพประกอบ)
                                                                    
เป็นเทคนิคที่ผู้เล่นกระโดดจากบริเวณหน้าตัวเซต แต่ลอยตัวไปตบบอลในตำแหน่งต่างๆ เช่น บอลเร็วห่าง X บอลเร็วหน้าไหล บอลเร็วหลัง A (ตัวเซต) บอลเร็วห่าง X หลัง(ตัวเซต) ดังภาพ
4.2 การกระโดดลอยตัวจากด้านหลังตัวเซต
การเล่นจะคล้ายคลึงกับการกระโดดลอยตัวหน้าตัวเซต
4.3 การกระโดดจากตำแหน่งรุกบอลเร็วห่าง X ลอยตัวมาตบบอลเร็ว A ใกล้ตัวเซต
4.4 การกระโดดจากตำแหน่งรุกบอลเร็วห่าง X หลังตัวเซตลอยตัวมาตบบอลเร็ว A หลังใกล้ตัวเซต

เทคนิค การลอยตัวตบนี้เป็นการหลอกให้ตัวสกัดกั้นกระโดดผิดตำแหน่ง โดยปกติในการสกัดกั้นการรุกบอลเร็ว ตัวสกัดกั้นจะต้องกระโดดพร้อมตัวรุกและตรงแนวการรุกของตัวตบ (face-to-face) หาก ผู้เล่นกระโดดจากจุดหนึ่งลอยไปตบบอลอีกจุดหนึ่งจะทำให้ตัวสกัดกั้นกระโดดผิด ตำแหน่ง เทคนิคการลอยตัวตบ ต้องใช้ศักยภาพในการกระโดดสูง เทคนิคนี้อาจจะไม่ค่อยเหมาะกับนักวอลเลย์บอลหญิงเท่าใดนัก สำหรับนักวอลเลย์บอลหญิงเหมาะสมกับเทคนิคประเภทการเข้ารุกแล้วเปลี่ยนทิศทาง มากกว่า
เทคนิคการเล่นบอลเร็วขั้นสูงสำหรับนักกีฬาหญิง
เทคนิค การเล่นบอลเร็วของนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงที่เรามักเห็นกันบ่อยในปัจจุบันคือ เทคนิคการก้าวเขย่งตบ หรือที่เรารู้จักกันว่า ไหลหลัง หรือกระเติงหลังนั่นเอง แต่ลักษณะการเล่นของนักกีฬาไทยโดยส่วนใหญ่การเคลื่อนที่เพื่อไปทำการรุกยัง ไม่มีการพลิกแพลงทำให้การดักทางของแนวสกัดกั้นทำได้ง่าย ในระดับทีมชั้นนำการเล่นลูกไหลหลังหรือกระเติงหลัง จะมีการพลิกแพลงมากขึ้นทำให้จับทางยาก ลักษณะการเล่นจะเป็นดังนี้
1. เข้าทำการรุกลักษณะบอลเร็วแต่เปลี่ยนทิศทางก้าวเขย่งตบด้านหลังใกล้ตัวเซต (ไหลสั้น)
2. เข้าทำการรุกลักษณะบอลเร็วแต่เปลี่ยนทิศทางก้าวเขย่งตบด้านหลังห่างตัวเซต (ไหลยาว)
เทคนิค การเล่นบอลเร็วขั้นสูงที่ได้นำเสนอมานี้ เป็นตัวอย่างที่สามารถใช้ได้จริงในการแข่งขัน การเลือกฝึกในแต่ละเทคนิคจำเป็นต้องดูศักยภาพของนักกีฬาแต่ละคนประกอบด้วย

ความสำคัญของบอลเร็วแต่ละระดับ


เดิมทีผมจะเริ่มเขียนเรื่องตำแหน่งผู้เล่นตบหัวเสาแต่ยังมีบางอย่างเล็ก น้อยในส่วนของผู้เล่นตบบอลเร็วที่อยากจะเพิ่มเติมจึงได้ยืดเรื่องบอลเร็วออก มาอีกหนึ่งตอน
ในการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับสูง ตำแหน่งผู้เล่นบอลเร็วมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะทำให้ทีมประสบความสำเร็จใจ กลยุทธ์การรุก ในระดับนี้หากไม่มีบอลเร็ว โอกาสที่จะประสบความสำเร็จเป็นไปได้ยาก หากเราดูการแข่งขันในระดับนานาชาติทีมชั้นนำของเอเซียหรือระดับโลกในประเภท ทีมชาย แม้ว่ามักจะไม่ค่อยใช้ผู้เร็วทำการรุกมากนักแต่ก็เป็นตัวที่สร้างความกังวล ให้ ตัวสกัดกั้น (Middle blocker) เพราะหากละความสนใจจากบอลเร็วอาจจะถูกโจมตีด้วยบอลเร็วและการแข่งขันในระดับ นี้ตัวเซตมีความสามารถสูง สามารถสร้างยุทธวิธีการรุกจากจุดอ่อนในแนวสกัดกั้นของคู่ต่อสู้ได้
ส่วน ในระดับกลางผู้เล่นบอลเร็วก็ยังสำคัญ แต่เรายังมักเห็นข้อผิดพลาดจากการเล่นบอลเร็วในระดับนี้อยู่มาก เนื่องจากการเล่นบอลเร็วเป็นส่วนผสมของความสัมพันธ์ระหว่าง การรับบอลเสริฟ การเซต และการตบ ผู้ฝึกสอนหากต้องการพัฒนาการรุกโจมตีด้วยบอลเร็ว จะต้องฝึกซ้อมพัฒนาความสัมพันธ์ทั้ง 3 ส่วนนี้ การรับลูกเสริฟต้องดี ตัวเซตเซตบอลได้ดี และผู้เล่นบอลเร็วตบบอลได้เด็ดขาด
และสุดท้ายในการ แข่งขันวอลเลย์บอลระดับพื้นฐาน/เริ่มต้น การโจมตีด้วยบอลเร็วไม่ใช่สิ่งสำคัญเพราะทักษะและเทคนิคของผู้เล่นยังไม่มาก พอ โดยส่วนใหญ่ในระดับนี้ผู้เล่นตัวกลางหน้ามักจะทำการรุกด้วยบอล B (สูงเหนือตาข่าย 1-2 เมตร)
สิ่งที่พึงระวังสำหรับผู้ฝึกสอนในแต่ละระดับคือ โดยส่วนใหญ่ผู้ฝึกสอนมักจะเลียนแบบการเล่น เทคนิคต่างๆจากทีมในระดับที่สูงกว่า โดยไม่ได้ทำการวิเคราะห์ทักษะความสามารถ ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติของนักกีฬา ซึ่ง อาจทำให้เกิดผลเสียแก่ทีมมากกว่า ผู้ฝึสอนจำเป็นต้องประเมินว่าในการแข่งขันแต่ละเกมส์ ระดับการเล่นของคู่แข่ง และของทีมมีเพียงใด จะใช้ผู้เล่นบอลเร็วเป็นตัวหลักในการรุกหรือเป็นเพียงตัวหลอก ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ข้อมูลคู่แข่งขัน อย่าลืมว่า " ความสำเร็จในการเล่นของผู้เล่นตำแหน่งตบบอลเร็ว ไม่ได้เกิดจากการตบบอลอย่างเดียว แต่ยังเกิดจากการที่สามารถดึงความสนใจของตัวสกัดกั้นตัวกลางโดยทำให้ไม่ สามารถไปสกัดกั้นการรุกจากตำแหน่งอื่นได้"

แนวคิดของผู้เล่นบอลเร็ว (วอลเลย์บอล)

การเล่นวอลเลย์บอลในตำแหน่งตบบอลเร็วนั้นเคยได้กล่าวไว้บ้างแล้วในเรื่อง ของแนวความคิด นอกจากการมีจิตใตเป็นนักสู้ มีทัศนคติที่ดีต่อทีม มุ่งประโยชน์ที่เกิดแก่ทีมมากกว่าตนเอง นอกจากนี้ยังต้องมีแนวคิดด้านอื่นอีกดังนี้
- ต้องสามารถปรับเปลี่ยนลักษณะการรุกให้ได้ตามคุณภาพของการรับบอลแรก สามารถปรับกลยุทธ์การตบได้ แม้ว่าบอลลูกแรกจะไปยังตัวเซตด้วยลักษณะใดก็ตาม และสามารถปรับจังหวะการเล่นให้เข้ากับตัวเซตได้ดี
- ต้องทำการรุกได้อย่างเด็ดขาดสำเร็จผลเมื่อมีตัวสกัดกั้นเพียงคนเดียว โดยอย่างน้อยต้องมากกว่า 50% ของการรุกที่มีการสกัดกั้นเพียงคนเดียว
- สามารถทำให้ตัวสกัดกั้นกระโดดเพื่อสกัดกั้นได้ แม้ว่าจะเป็นการกระโดดโดยไม่ได้ทำการรุก
- ควรวิเคราะห์ สังเกตุตัวสกัดกั้นฝ่ายตรงข้ามว่ากลยุทธการสกัดกั้นเป็นอย่างไร การกระโดดของตัวสกัดกั้นนั้นจริงหรือหลอก และบอกกับตัวเซตเพื่อให้ตัวเซตปรับเปลี่ยนกลยุทธ์
- ควรมีความหลากหลายในการรุก เพื่อไม่ให้คู่ต่อสู้จับทางการเล่นได้
- จะต้องสังเกตุแนวรับของคู่ต่อสู้ โดยเฉพาะในตำแหน่งที่ 1 และ 5 เพื่อตบหรือหยอดไปยังบริเวณที่แนวรับไม่สามารถรับได้
- ต้องมีความเข้าใจกับตัวเซตในการรุกแม้ว่าจะไม่มีการนัดแนะกันมาก่อน
- ผู้เล่นบอลเร็วต้องมีความรู้สึกว่าความสำเร็จในการรุกของเพื่อนร่วมทีม เมื่อมีคู่ต่อสู้สกัดกั้นเพียงคนเดียวนั้น เป็นความสำเร็จของผู้เล่นบอลเร็วด้วย
- จะต้องมีจิตใจนักสู้ ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ (ลักษณะเช่นนี้ควรจะมีในทุกๆ ตำแหน่ง)
- สามารถรับลูกเสริฟที่มายังบริเวณพื้นที่ที่ผู้เล่นบอลเร็วอยู่บริเวณหน้าตาข่ายและสามารถทำการรุกได้ทันที
การ ฝึกเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง การรับเสริฟ การเซต และผู้เล่นบอลเร็ว ทั้งหมดจะต้องเป็นส่วนหนึ่งในการฝึกซ้อม โดยเฉพาะในช่วงก่อนการแข่งขัน (Pre season) และช่วงการแข่งขัน (Season Phase) เสมอ
หากท่านใดสนใจแลกเปลี่ยนความคิดเห็นขอเชิญได้ครับ

พื้นฐานรูปแบบการเล่นของทีมวอลเลย์บอล (ตอนที่ 3)

การรับตบ
การ ตั้งรับลูกตบเป็นส่วนหนึ่งในระบบการป้องกันการรุกของคู่ต่อสู้ ซึ่งมีความสำคัญในสถานการณ์การแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเภททีมหญิง หลายครั้งในการแข่งขันจะพบว่าแต่ละทีมมักจะปล่อยให้ลูกบอลตกพื้นโดยที่ไม่มี ผู้เล่นคนใดรับบอล การฝึกซ้อมระบบการรับจะทำให้นักกีฬารู้ตำแหน่งและหน้าที่ว่าต้องรับผิดชอบ พื้นที่ใดและควรจะเล่นลูกลักษณะไหน ในการเล่นเกมรับผู้เล่นทุกคนควรจะคาดคะเนทิศทาง จังหวะการตบบอลของคู่ต่อสู้และเตรียมตัวให้พร้อม รักษาตำแหน่งให้ถูกต้องก่อนที่คู่ต่อสู้จะตบบอล การคาดคะเนทิศทางและปฏิกิริยาการรับบอลที่รวดเร็วเป็นสิ่งจำเป็นในการเล่น วอลเลย์บอลสมัยใหม่
ระบบการตั้งรับ
ระบบ การตั้งรับมีหลายแบบโดยพิจารณาจากความสามารถของผู้เล่น ระบบการสกัดกั้นของทีมจำนวนผู้สกัดกั้นการรุกของคู่ต่อสู้โดยทั่วไปจะมีดัง นี้
1. การตั้งรับโดยมีผู้สกัดกั้น 1 คน
2. การตั้งรับโดยมีผู้สกัดกั้น 2 คน
3. การตั้งรับโดยมีผู้สกัดกั้น 3 คน
การตั้งรับโดยมีผู้เล่นสกัดกั้น 2 คน             
การ สกัดกั้นโดยใช้ผู้เล่น 2 คน เป็นระบบการสกัดกั้นพื้นฐานที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการแข่งขันปัจจุบัน การตั้งรับโดยมีผู้สกัดกั้น 2 คนจากการรุกของคู่ต่อสู้ในลักษณะต่าง ๆ มีรูปแบบดังนี้
การตั้งรับการรุกจากหน้าซ้าย (หัวเสา)
ใน การแข่งขันเรามักจะพบการรุกจากหัวเสามากที่สุดด้วยปัจจัยหลายอย่าง จากภาพประกอบรูปแบบการตั้งรับการรุกจากหัวเสาผู้เล่นตำแหน่ง 1 (หลังขวา) จะยืนห่างจากเส้นรุกประมาณ 2-3 เมตร ผู้เล่นตำแหน่ง 4 (หน้าซ้าย) จะต้องถอยมาตั้งรับบริเวณเส้นรุก
การ ตั้งรับการรุกจากหัวเสามีสิ่งที่ต้องระวังคือการรับลูกหยอดของคู่แข่ง การระวังรับลูกหยอดในระบบนี้อาจใช้ผู้เล่นตำแหน่ง 1 หรือตำแหน่ง 4 เป็นคนคอยระวังรับลูกหยอด (ดูภาพประกอบ)
ภาพ A-B
ผู้เล่นตำแหน่ง 2 ระวังรับลูกหยอด
ภาพ C
ผู้เล่นตำแหน่ง 4 ระวังรับลูกหยอด
การตั้งรับการรุกจากหน้าขวา (หัวเสาหลังตัวเซต)
การตั้งรับจะคล้ายคลึงกับการรุกจากหน้าซ้าย แตกต่างกันที่ผู้เล่นตำแหน่ง 2 ไม่ได้สกัดกั้น จะต้องถอยมาตั้งรับเช่นเดียวกัน
การตั้งรับการรุกจากตรงกลาง
                                  
ผู้เล่นหน้าซ้ายหรือขวาที่ไม่ได้สกัดกั้นจะต้องถอยตั้งรับเช่นเดียวกัน
การตั้งรับโดยมีผู้เล่นสกัดกั้น 1 คน             
การ ตั้งรับโดยมีผู้เล่นสกัดกั้นเพียงคนเดียว ไม่ว่าผู้เล่นแดนหน้าคนใดสกัดกั้น ผู้เล่นแดนหน้าที่ไม่ได้สกัดกั้นจะต้องถอยลงมาตั้งรับ (ดูภาพประกอบ)
การตั้งรับการรุกจากหน้าซ้าย (หัวเสา)
ผู้เล่นตำแหน่ง 3 (กลางหน้า) ถอยลงมารอรับลูกหยอด
การตั้งรับการรุกจากหน้าขวา (หัวเสาหลังตัวเซต) และตรงกลาง
                                 
การตั้งรับโดยมีผู้เล่นสกัดกั้น 3 คน             
การ สกัดกั้นโดยใช้ผู้เล่น 3 คน มักใช้ในกรณีที่ผู้เล่นตัวตบของคู่ต่อสู้ตบบอลได้รุนแรงรับยาก ระบบนี้จะทำให้เหลือผู้เล่นตั้งรับเพียง 3 คน (ดูภาพประกอบ)
การตั้งรับการรุกจากหน้าซ้าย (หัวเสา)
การตั้งรับการรุกจากตรงกลางและการตั้งรับการรุกจากหน้าขวา (หัวเสาหลังตัวเซต)
อย่างไรก็ดีการตั้งรับโดยมีผู้สกัดกั้น 3 คนยังสามารถปรับระบบการตั้งรับโดยให้มีผู้เล่นทำหน้าที่รับบอลหยอด 1 คน (ดูภาพประกอบ)
การตั้งรับรูปแบบพิเศษ
กรณีที่ทีมมีผู้เล่นตัวเล็กไม่สามารถสกัดกั้นได้เมื่ออยู่หน้าตาข่าย อาจจะใช้ระบบการตั้งรับแบบพิเศษ (ดูภาพประกอบ)
ภาพ A ตำแหน่งเริ่มต้น
ภาพ
B ตำแหน่งพื้นฐานเตรียมสกัดกั้น
ภาพ
C ตำแหน่งสกัดกั้น
ผู้เล่นตัวเล็ก (S) อยู่ ตำแหน่งกลางหน้าไม่ต้องสกัดกั้น โดยถอยมารับบอลที่ตำแหน่ง 1 หรือ 5 (กรณีผู้เล่นตัวเซตอยู่แดนหลัง) การตั้งรับลักษณะนี้จะมีผู้เล่นอยู่บริเวณท้ายสนาม 2 คน
สำหรับ เรื่องเกี่ยวกับพื้นฐานรูปแบบการเล่นของทีมวอลเลย์บอลที่นำเสนอต่อเนื่องมา 3 ตอนหวังว่าคงจะมีประโยชน์สำหรับนักกีฬาและผู้ฝึกสอนที่สนใจกีฬาวอลเลย์บอล บ้างไม่มากก็น้อย
อ้างอิงข้อมูลจาก Coach Manual ของ FIVB

พื้นฐานรูปแบบการเล่นของทีมวอลเลย์บอล (ตอนที่ 2)

พื้น ฐานองค์ประกอบในการเล่นวอลเลย์บอลที่ผมจะนำเสนอในตอนนี้เป็นองค์ประกอบหลัก สำคัญที่เราพบในการแข่งขันเสมอ คือการรุก การรองบอลและการรับ โดยในตอนนี้จะเป็นเรื่องของการรุกและการรองบอล
การรุก
การ รุกหรือโจมตีในกีฬาวอลเลย์บอลมี 2 วิธีหลักๆ คือ การตบและการหยอด ซึ่งการตบหรือหยอดก็จะมีหลากหลายรูปแบบ การใช้วิธีการตบลักษณะใดขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่น ประสบการณ์และคู่ต่อสู้
การตบบอลลักษณะต่าง ๆ
1. การตบบอลที่เซตสูง
การ ตบบอลที่เซตมาสูงหรือที่เรามักเรียกกันว่า บอลโค้ง หรือบอลหัวเสา เป็นวิธีการรุกพื้นฐานที่ควรแนะนำสำหรับทีมในระดับเริ่มต้น แต่อย่างไรก็ตามการตบบอลลักษณะนี้ยังใช้ได้ในทีมทุกระดับ
2. การตบบอลเร็วหัวเสา
บอลลักษณะนี้เรามักเรียกกันว่าบอล Y เป็นบอลที่คล้ายกับบอลโค้งหัวเสาแต่มีความเร็วมากกว่าและเตี้ยกว่าบอลโค้งหัวเสา
3. การตบบอลเร็วแบบต่างๆ
บอลเร็วหน้า (A หน้า) กระโดดตบหน้าตัวเซตประมาณ 1 เมตร และกระโดดก่อนตัวเซตจะเซตบอล
บอลเร็วหลัง (
A หลัง) - กระโดดตบหลังตัวเซตประมาณ 1 เมตร และกระโดดก่อนตัวเซตจะเซตบอล
บอลเร็วหน้าห่างตัวเซต (
X หน้า) กระโดดตบหน้าตัวเซตประมาณ 2-3 เมตร กระโดดพร้อมตัวเซตเซตบอล
บอลเร็วหน้าห่างตัวเซต (
X หลัง) กระโดดตบหลังตัวเซตประมาณ 2-3 เมตร กระโดดพร้อมตัวเซตเซตบอล
(อ่านเพิ่มเติม)
1. กลยุทธ์และเทคนิคของผู้เล่นบอลเร็ว http://www.oknation.net/blog/volleyball/2010/03/26/entry-1
3. เทคนิคการตบบอลเร็วขั้นสูง
http://www.oknation.net/blog/volleyball/2010/03/31/entry-1
4. ความสำคัญของบอลเร็ว
http://www.oknation.net/blog/volleyball/2010/04/02/entry-1
5. แนวคิดของผู้เล่นบอลเร็ว
http://www.oknation.net/blog/volleyball/2010/04/03/entry-1
เทคนิคการรุก
การ โจมตีหรือการรุกด้วยสามารถทำได้ด้วยการตบหรือการหยอด ซึ่งมีเทคนิคหลากหลายเพื่อให้คู่ต่อสู้สกัดกั้นได้ยาก โดยนักกีฬาสามารถฝึกฝนหรือคิดค้นเทคนิคต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองและฝึกซ้อมให้เกิดความชำนาญ จะช่วยให้ทีมประสบความสำเร็จในการแข่งขัน
การรุกแบบสลับตำแหน่ง
เป็นเทคนิคการรุกที่เส้นทางการรุกของผู้เล่น 2 คนไขว้กัน โดยผู้เล่นคนหนึ่งจะตบบอลเร็ว หรือที่เรียกว่าการรุกแบบผสม Combination attack หรือภาษาวอลเลย์บอลเรียกบอลทับหรือบอลแทรก ลักษณะเส้นทางการรุกของผู้เล่นทั้งสองจะเป็นรูปตัว X
การเปลี่ยนทิศทางการเข้าตบบอล
เป็น เทคนิคการรุกส่วนบุคคลของนักกีฬา โดยใช้การเคลื่อนที่เข้าตบบอลลักษณะหนึ่งแล้วเปลี่ยนทิศทางไปตบบอลอีกลักษณะ หนึ่ง (เรียกง่าย ๆ ว่าการวิ่งหลอก) ตัวอย่างเช่น
เคลื่อนที่เข้าตบบอลเร็วหน้า แต่ไปตบบอล B หลัง (บอลที่สูงเหนือตาข่ายประมาณ 1-2 เมตร)
หรือกระโดดลักษณะตบบริเวณหน้าตัวเซตแต่ลอยตัวไปตบบอลเร็วหลังตัวเซต
เคลื่อนที่เข้าตบบอลเร็วห่างหน้าตัวเซต (บอล X) แต่เปลี่ยนทิศทางมาตบบอล B หน้า (เรียกว่าบอล XB)
เคลื่อนที่เข้าตบบอลเร็วหน้าตัวเซต (บอล A) แต่เปลี่ยนทิศทางมาตบบอล B โค้ง
อ่านเพิ่มเติม
1. รูปแบบแผนการรุก http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/10/24/entry-1
2. เทคนิคการตบบอลเร็วขั้นสูง http://www.oknation.net/blog/volleyball/2010/03/31/entry-1
การหยอด
การ หยอดจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องหยอดไปยังตำแหน่งที่เป็นจุดอ่อนในเกมรับ ของคู่ต่อสู้ เพื่อให้คู่ต่อสู้รับยากหรือหากรับได้แต่นำบอลนั้นกลับมารุกโต้กลับได้ยาก ซึ่งแต่ละจุดที่หยอดก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการตั้งรับของคู่ต่อสู้
พื้นที่หยอดเมื่อตั้งรับห่างจากเส้นรุก
เมื่อผู้เล่นตำแหน่ง 2 เข้ารองบอลด้านใน
เมื่อผู้เล่นตำแหน่ง 4 เข้ารองบอลด้านใน
การรองบอล
การ รองบอลในขณะที่ทีมเป็นฝ่ายรุกเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยทำให้ทีมสามารถนำบอลที่ตัวรุกตบไม่ผ่านการสกัดกั้นกลับมาเล่นต่อได้ ตำแหน่งของการรองบอลจะขึ้นอยู่กับการประเมินปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้
1. ทิศทางของแนวสกัดกั้น
2. มุมของการสกัดกั้น
3. เส้นทางการตบบอล
4. ความเร็วของลูกบอล
สังเกตทิศทางการตบบอลกับแนวสกัดกั้น
การสะท้อนกลับของลูกบอลสังเกตจากมุมของการสกัดกั้น
รูปแบบการรองบอล
รูปแบบการรองบอลมี 2 รูปแบบดังนี้
1. การรองบอลแบบ 3:2
2. การรองบอลแบบ 2:3
การรองบอลแบบ 3:2  
การรองบอลลักษณะนี้จะใช้ผู้เล่น 3 คน รองบอลใกล้ตัวตบ และผู้เล่นอื่นอีก 2 คน รองบอลในแนวหลัง
รองบอลจากการรุกหัวเสาหลัง
รองบอลจากการรุกบอลเร็วหน้า
จาก ภาพ ผู้เล่นหมายเลข 1 2 3 รองบอลใกล้ตัวตบ และผู้เล่นหมายเลข 4 5 รองบอลในแนวหลัง หลังจากที่ตัวรุกตบบอลไปยังแดนคู่ต่อสู้ ผู้เล่นทั้งหมดต้องเคลื่อนที่กลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้น
การรองบอลแบบ 2:3 
การรองบอลลักษณะนี้จะใช้ผู้เล่น 2 คน รองบอลใกล้ตัวตบ และผู้เล่นอื่นอีก 3 คน รองบอลในแนวหลัง
รองบอลจากการรุกบอลเร็วหน้า
รองบอลจากการรุกบอลเร็วหลัง
ในการรองบอล ผู้เล่นทุกคนควรจะคาดคะเนทิศทางและจังหวะของการสะท้อนกลับของลูกบอล ระวังรักษาตำแหน่งให้พร้อมรองบอลเสมอ

พื้นฐานรูปแบบการเล่นของทีมวอลเลย์บอล (ตอนที่ 1)

วอลเลย์บอล เป็นกีฬาที่ต้องเล่นเป็นทีมที่ประกอบด้วยผู้เล่นหลายคน ในการสร้างทีมวอลเลย์บอลจึงต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ของการเล่นวอลเลย์บอลเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับทีม โดยองค์ประกอบในการเล่นที่ควรพิจารณาคือ
1. ตำแหน่งการเล่นของผู้เล่นในทีม
2. ตำแหน่งของผู้เล่นที่ลงสนาม 6 คน
3. รูปแบบการรับลูกเสริฟ
4. รูปแบบการรุก
5. รูปแบบการรองบอล
6. รูปแบบการรับ  
ตำแหน่งของผู้เล่นในทีม
กระบวน การเริ่มแรกของการสร้างทีมวอลเลย์บอลก็คือ การพิจารณาคัดเลือกผู้เล่นแต่ละตำแหน่งเข้าร่วมทีม เราควรจะต้องรู้ความสามารถของนักกีฬา ลักษณะทางกายภาพ ความสามารถพิเศษของนักกีฬาแต่ละคนเป็นอย่างไร และแต่ละทีมควรจะมีผู้เล่นลักษณะใดบ้างเพื่อให้ทีมประสบความสำเร็จตามแนวทาง ที่เราต้องการ
คุณสมบัติของผู้เล่นลักษณะต่าง ๆ
ผู้เล่นตบบอลหลัก – จะเป็นผู้เล่นที่มีความสามารถในการตบบอลได้ดี มีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรง ความสามารถในการตบบอลของตัวตบบอลหลักสำหรับนักกีฬาชายควรประสบความสำเร็จใน การตบบอลไม่น้อยกว่า 50 % ส่วนนักกีฬาหญิงควรไม่น้อยกว่า 40 %
ผู้เล่นตบบอลเร็ว – จะเป็นผู้เล่นที่มีความสามารถในการตบบอลเร็วได้หลากหลาย เช่น บอลเร็วหน้า/หลัง ห่างตัวเซต หรือการเขย่งตบ และต้องมีการประสานงานกับผู้เล่นตัวเซตได้ดี
ผู้เล่นตัวเซต – ทำหน้าที่เซตบอลให้ตัวตบในลักษณะต่างๆ มีความสามารถในการเซต ควบคุมจังหวะ ทิศทางลูกบอลได้ดี โดยเฉพาะการเซตให้ผู้เล่นตัวตบบอลเร็ว ผู้เล่นตัวเซตถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของทีม
ผู้เล่นอเนกประสงค์ – เป็นผู้เล่นที่มีความสามารถทุกทักษะเช่น การเซต การสกัดกั้น การตบ การเสริฟ และการรับลูกเสริฟ
Combined Attacker (ผู้เล่นตบบอล B หรือผู้เล่นที่ตำแหน่งตรงข้ามตัวเซต) – ผู้เล่นตำแหน่งนี้ที่มักเรียกกันว่าตัวตบบอล B จะ มีความสามารถในการรุกแบบผสม รุกจากหัวเสาด้านหลัง และรุกจากแดนหลัง ถ้าเป็นผู้เล่นที่ถนัดมือซ้ายจะได้เปรียบ เป็นผู้เล่นที่ค่อนข้างมีความสำคัญต่อทีม
ผู้เล่นตัวรับ – แต่ละทีมนอกจากมีผู้เล่นตัวรับอิสระแล้ว อาจจะต้องมีผู้เล่นที่มีทักษะการรับที่ดีไว้ช่วยการรับของทีม
ตำแหน่งของผู้เล่นในสนาม
การ วางตำแหน่งผู้เล่นในสนาม 6 คนแรกขึ้นอยู่กับระบบการเล่นที่เราจะเลือกใช้สำหรับทีม ซึ่งเราต้องพิจารณาว่าจะใช้ระบบการเล่นใดที่จะเหมาะสมกับทีมเราที่สุด
(อ่านเพิ่มเติม)                           
1. ทำความรู้จักระบบการเล่น 1 http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/03/entry-1
2. ทำความรู้จักระบบการเล่น 2
http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/04entry-1     
การยืนตำแหน่งหลังจากการเสริฟ                                         
เมื่อ ทีมเป็นฝ่ายได้สิทธิ์ในการเสริฟ หลังจากที่ผู้เล่นเสริฟบอลไปแล้วผู้เล่นทุกคนจะต้องยืนประจำตำแหน่งของตนเอง เพื่อเตรียมทำการป้องกันการรุกของคู่ต่อสู้ โดยทั่วไปรูปแบบของตำแหน่งหลังจากการเสริฟมีดังนี้
รูปแบบที่ 1
ผู้เล่นแดนหน้า – ผู้ เล่นตัวกลางหน้ายืนชิดตาข่ายเพื่อเตรียมสกัดกั้นบอลเร็ว ผู้เล่นตัวริมซ้ายและขวายืนห่างตาข่ายเล็กน้อยเพื่อเตรียมสกัดกั้นหรือถอย ออกมารับลูกตบ

ผู้เล่นแดนหลัง – ผู้เล่นตำแหน่ง 2 และ 5 ยืนใกล้เส้นรุกเพื่อรอรับลูกหยอดหรือลูกตบบอลเร็ว ผู้เล่นตำแหน่ง 6 อยู่ตรงกลางห่างจากท้ายสนามประมาณ 1-2 เมตร
รูปแบบที่ 2

ผู้เล่นแดนหน้า – ตำแหน่งการยืนเช่นเดียวกับรูปแบบที่ 1
ผู้เล่นแดนหลัง – ผู้เล่นตำแหน่ง 2 และ 5 ยืนห่างจากเส้นรุกประมาณ 2-3 เมตร ผู้เล่นตำแหน่ง 6 อยู่ใกล้เส้นรุกเพื่อรอรับบอลหยอดหรือบอลเร็ว
การรับลูกเสริฟ
การ รับลูกเสริฟเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเล่นเป็นทักษะที่มีผลต่อการรุกของทีม หากการรับลูกเสริฟของทีมไม่มีประสิทธิภาพ โอกาสในการรุกทำคะแนนของทีมจะลดน้อยลงทันที
หลักการของการรับลูกเสริฟ – เป้าหมายของการรับลูกเสริฟคือการบังคับลูกบอลให้ลอยไปยังพื้นที่การเซตของ ผู้เล่นตัวเซตบริเวณหน้าตาข่าย ซึ่งในสถานการณ์แข่งขันผู้เล่นตัวเซตจะอยู่บริเวณส่วนใดหน้าตาข่ายอาจขึ้น อยู่กับแผนการรุก ไม่จำเป็นที่ผู้เล่นตัวเซตจะต้องอยู่ระหว่างตำแหน่ง 2 และ 3 เท่านั้น (ดูภาพประกอบ)
ตำแหน่งการยืนรับลูกเสริฟจะขึ้นอยู่กับความสามารถ ลักษณะการเสริฟของผู้เสริฟว่าเป็นอย่างไร หนัก เบา สั้นหรือยาว (ภาพประกอบ)


ทิศทางการเคลื่อนที่ในการรับลูกเสริฟ การเคลื่อนที่รับลูกเสริฟ ผู้เล่นแต่ละตำแหน่งจะเคลื่อนที่ในแนวทแยงมุม 45 องศา



(อ่านเทคนิคการรับลูกเสริฟเพิ่มเติม) 
1. Clip เทคนิคการรับลูกเสริฟแบบต่าง ๆ(1) http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/20/entry-1
2. เทคนิคการรับลูกเสริฟ (2)
http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/21/entry-1
3. เทคนิคการรับลูกเสริฟ (ตอนจบ)
http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/22/entry-1
รูปแบบการรับลูกเสริฟ
รูป แบบการรับลูกเสริฟมีหลายรูปแบบในการเลือกใช้รูปแบบใดต้องพิจารณาให้เหมาะสม กับความสามารถในการรับของผู้เล่นในทีม ระบบการรุกที่ทีมเลือกใช้
การรับแบบตัวเอ็ม W
การรับแบบตัวเอ็ม M
การรับแบบ Roof

(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)
1.การรับลูกเสริฟโดยใช้ผู้เล่น 5 คน http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/15/entry-1
2.การรับลูกเสริฟโดยใช้ผู้เล่น 4 คน http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/17/entry-1
3.การรับลูกเสริฟโดยใช้ผู้เล่น 3 คน http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/19/entry-1
สำหรับในตอนต่อไปจะนำองค์ประกอบพื้นฐานของทีมในเรื่องการรุก และการรองบอลมานำเสนอต่อไป